วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555


แหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณของโลก

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐานอารยธรรมเมโสโปเมเมีย กำเนิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส เป็นแหล่งอารยธรรมแห่งแรกของโลก บริเวฯนี้เป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ ท่ามกลางอาณาบริเวณที่เป็นทะเลทรายและเขตภูเขา  แม่น้ำทั้งสองไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย  ดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่ควบคุมอาณาเขตกว้างขวาง พื้นที่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูงกว่าตอนใต้ และจะลาดต่ำลงมายังพื้นที่ราบลุ่มตอนล่าง พื้นที่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำจึงมีความแห้งแล้ง การกสิกรรมจะต้องใช้ระบบชลประทาน ส่วนพื้นที่่ราบลุ่มตอนล่างเป็นที่ราบต่ำเป็นที่ราบดินดอนที่อุดมสมบูรณ์ เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำทั้งสองสายพัดเอาโคลนตมมาทับถมไว้บริเวณ ปากน้ำ ทำให้เกิดพื้นดินงอกตรงปากแม่น้ำทุกปี บริเวณนี้เรียกว่า “บาบิโบเนีย”

ลักษณะภูมิอากาสของดินแดนเมโสโปเตเมีย เป็นดินดนที่มีฝนตกน้อยมาก เพราะมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายกึ่งทะเลทราย อากาศจึงแห้งแล้ง ส่นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดินอันอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะดินเหนีวซึ่งนำมาทำอิฐในการสร้างบ้านเรือนและศาสน สถาน ส่วนแร่ธาตุ คือ เหล็กและเกลือ
ลักษระชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานในแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นชนหลายกลุ่มเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐานและมีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ พวกสุเมเรียน ต่อมาเป็นพวกเผ่าเซเมติก ได้แก่ แอคคัด และพวกอามอไรต์ หลักจากนั้นมีพวกอินโดอารยัน ได้แก่ พวกฮิตไทต์ และพวกเปอร์เซียน
ชาวสุเมเรียน      ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมดสโปเตเมียวึ่งอยู่ ระหว่างแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส ชาวสุเมเรียนเอาชนะธรรมชาติด้วยการสร้างทำนบใหญ่สองฟากฝั่งแม่น้ำ สร้างครองระบายน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูน้ำและอ่างเก็บน้ำเพื่อระบายน้ำไปยังบริเวณที่แห้งแล้งที่อยู่ไกลออกไป ชาวสุเมเรียนจึงเป็นพวกแรกที่ทำระบบชลประทานได้
วัฒนธรรมสุเมเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาแทบทั้งสิ้น พวกสุเมเรียนจึงนิยมสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่เรียกว่า “ซิกรูแลต” ซึ่งมีรูปร่างแบบสถาปัคยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่างๆ ซิกรูแรตสร้างด้วยอิฐตากแห้งพวกสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักประดิษฐ์อักษรได้ราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรที่ใช้ในการบันทึกนี้เรียกว่า “อักษาลิ่ม” หรือ “คูนิฟอร์ม” อักษรลิ่มนี้นับว่าเป็นหลักฐานที่เป็นลายอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในทางประวัติ ศาสตร์ วรรณกรรมที่สำคัญของพวกสุเมเรียน ได้แก่ มหากาพย์ กิลกาเมช เป็นเรื่องกี่ยวกับผจญภัยของวีรบุรุษที่แสวงหาชีวิตอันเป็นอมตะ พวกสุเมเรียนมีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฎิทิน และการชั่ง ตวง วัด
อาณาจักรบาบิโลเนีย   หลักจากที่พวกสุเมเรียนเสื่อมอำนาจลง เพราะการสงครามกับชนเผ่าอื่นที่เข้ามารุกรานและการแย่งชิงความเป็นใหญ่ใน ระหว่างพวกสุเมเรียนด้วยกันเอง ต่อมาพวกอามอไรต์ ได้ตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นมา มีเมืองหลวงที่มีบาบิโลน ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส อาราจักรบาบิโลเนียเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์ มีการเก็บภาษีอากรและการเกษฑ์ทหาร รับควบคุมการค้าต่างๆ ผลงานที่สำคัญของอาณาจักรบาบิโลเนีย ได้แก่ การประมวลกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ประมวลกฏหมายกฏหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี  ประมวลกฏหมายของฮัมมูราบี ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
จักรวรรดิอัสซีเรีย   ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน และอาณาจักรต่างๆ ในเอเซียตะวันตก พวกอัสซีเรียนเป็นนักรบที่กล้าหาญ มีวินัย ใช้อาวุธทำด้วยเหล็ก  ชาวอัสซิเรียนนิยมสร้างวังให้มีขนาดใหญ่โตมโหฬารมากกว่าศาสนสถาน มรดกทางศิลปกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การล่าสัตว์ และการทำสงครามปราบปรามชนชาติต่างๆ  มีการรวบรวมงานเขียนทีี่เป็นแผ่นจารึกต่างๆ ไว้ในห้องสมุดที่เมืองนิเนเวห์ ถึง 22,000แผ่น นับว่าเป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น อาณาจักรคาลเดีย พวกคาลเดียมีการสร้างพระราชวังและวิหารขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส และเหนือพระราชวังขึ้นไปมีการสร้างสวนขนาดใหญ่เรียกว่า ” สวนลอยแห่งบาบิโลน”  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหศจรรย์ของโลกยุคโบราณเพราะสามารถใช้ความรู้ในการชล ประทาน ทำให้สวนลอยแห่งนี้เขียวขจีได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นพวกคาลเดียนในบาบิโลเนียใหม่ยังปรับปรุงด้านเกษตรกรรม และเริ่มต้นงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่่างยิ่งทางด้านดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบ คาบละ 120 นาที


อารยธรรมอียิปต์ 
อารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีถิ่นกำเนิดในดินแดนใกล้เคียงกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างและมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีมรดกทางสถาปัตยกรรม เช่น ปิรามิดและแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาอีกด้วย

อียิปต์โปราณตั้งอยู่ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก โลกตะวันตกคือดินแดนที่อยู่รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนโลกตะวันออก ได้แก่ ดินแดนเมโสโปเตเมียและดินแดนในแถบลุ่มแม้น้ำสินธุ ทิศเหนือของอียิปต์จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศตะวันตกติดกับทะเลทรายซาฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียทางทิศตะวันออก ถัดไปคือ ทะเลแดง ทิศใต้จรดประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน อียิปต์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์มีลักษณะที่ต่างไปจากแม่น้ำอื่นๆ คือ ทอดตัวไหลจากภูเขาทางตอนใต้ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ มีนคือเส้นทางคมนาคมสายหลักและเป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทาง โดยใช้ร่วมกับทิศทางการขึ้นและตกของดาวอาทิตย์ ชาวอียิปต์แบ่งช่วงแม่น้ำไนล์เป็น 2 ช่วง คือ ต้นน้ำทางตอนใต้เรียกว่า “อียิปต์บน” (Upper Egypt) และปลายแม่น้ำในดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางเหนือว่า “อียิปต์ล่าง” (Lower Egypt)

แผนที่อียิปต์โบราณ
ประมาณ 3,150 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าเมเนส (Menes) หรือนาเมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมเมืองต่างๆ ทั้งในอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และตั้งเมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง ประวัติศาสตร์ของอียิปต์ยุคราชวงศ์จึงเริ่มต้นขึ้น ประวัติศาสตร์ของอียิปต์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
  1. ยุคราชวงศ์เริ่มแรก อยู่ในช่วง 3100-2686 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มตั้งแต่พระเจ้าเมเนส รวบรวมเมืองต่างๆ ได้ทั้งในอียิปต์ล้างและอียิปต์บนเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเข้าสู่ราชวงศ์ที่ 1 และ 2 ยุคนี้เป็นยุคการสร้างอียิปต์ให้มีความเป็นปึกแผ่นเข็มแข็ง 
  2. ยุคราชวงศ์เก่า อยู่ในช่วง  2686-2181 ก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3 อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง มีการย้ายเมืองหลวงไปตามเมืองต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครองต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ที่ 9 และ 10 ในยุคนี้อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 3 ถึงราชวงศ์ที่ 6 ราชวงศ์ที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีการสร้างปิรามิดที่ยิ่งใหญ่มากมายโดยเฉพาะมหาปิรามิดของฟาโรห์คูฟูที่เมืองเซห์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง และการสร้างสรรค์ความเจริญในยุคนี้ได้เป็นรากฐานและแบบแผนของความเจริญของอียิปต์ในสมัยราชวงศ์ต่อๆ มา

    สฟิงซ์ (Sphinx)

    มหาปิรามิดแห่งกีซา (Giza) ของฟาโรห์คูฟู (Khufu) 
  3. ยุคราชวงศ์กลาง อยู่ในช่วง 2,040-1,782 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดีทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ยุคนี้เป็นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี แต่ความรุ่งเรืองของอียิปต์ก็หยุดชะงักลงจากการรุกรานของกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนคือ พวกฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ายึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และเอเชียไมเนอร์ได้แล้ว เพราะพวกฮิกโซสมีความเก่งกาจในการรบกว่าชาวอียิปต์ ทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ไว้ได้ตั้งแต่ 1,670-1,570 ปีก่อนคริสตกาล แต่เนื่องด้วยอียิปต์มีความเจริญที่เหนือกว่า พวกฮิกโซสจึงเป็นฝ่ายรับความเจริญไปจากอียิปต์ จึงทำให้อารยธรรมอียิปต์ไม่ขาดความต่อเนื่องแต่อย่างใด 
  4. ยุคราชวงศ์ใหม่ อยู่ในช่วง 1,570-332 ก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 18-31 เมื่อ ชาวอียิปต์ได้ก่อกบฏและมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึงเริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย ปาเลสไตน์และฟินิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “สมัยจักรพรรดิ” (Empire) แต่ในช่วงหลังๆ อำนาจการปกครองจากส่วนกลางค่อยลดลง เหล่าขุนนางที่ปกครองเมืองที่หางไกลก็เริ่มแข็งขืนต่ออำนาจมากขึ้นจนถึงประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็พ่ายแพ้ต่อชาวอัสซีเรียน และเมื่ออาณาจักรเปอร์เซียได้เข้ายึดครองเมโสโปเตเมีย อียิปต์ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของเปอร์เซีย และประมาณ 332 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนอารยธรรมทั้งเมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และอียิปต์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
อารยธรรมของอียิปต์ได้สร้างมรกดมากมายหลายด้านแก่โลก การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆของชาวอียิปต์โบราณนอกจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจากความโหดร้ายของธรรมชาติยังได้รับแรงผลักดันจากความคิดความเชื่อทางศาสนาและชีวิตหลังความตายอีกด้วย ชาวอียิปต์ยอมรับนับถือเทพเจ้ามากมาย ในแต่ละชุมชนมีวัดหรือวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา บูชาเทพเจ้าและดวงวิญญาณของฟาโรห์ ชาวอียิปต์นับถือเทพแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหมาใน จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส แมว แมลงเต่าทอง และในเวลาต่อมาการบูชาสัตว์ได้เปลี่ยนเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ และเป็นคนโดยสมบูรณ์ เช่นการนับถือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และเทพเจ้าที่สำคัญที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ซึ่งชาวอียิปต์ให้ความนับถือ คือ โอซิริส (Osiris) ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีความอมตะ เป็นประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย และเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความตาย เทพเจ้าเร (Re) เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ผู้ประทานชีวิต

นอกจากนั้นแล้วยังนิยมบูชาพระเครื่องและตะกรุดเป็นเครื่องรางของขลัง จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์หยั่งรากลึกและเจริญเติบโตอยู่ในชีวิตและจิตวิญญาณของคนอียิปต์อย่างแท้จริง ความเชื่อที่โดดเด่นพิเศษของชาวอียิปต์อีกประการหนึ่ง คือ ความเชื่อในโลกหน้าหรือความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งในการก่อสร้างปิรามิดและการทำมัมมี่

เทพโอซิริส

มัมมี่

เทพที่มีรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์
ชาวอียิปต์เชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตะ เรียกว่า Ka มาจากเทพสูงสุดเป็นคนสร้างวิญญาณให้มนุษย์ เพราะว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงต้องสร้างปิรามิดเพื่อเก็บมัมมี่ เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายกลับมาสู่ร่างเดิมได้ การสร้างปิรามิดในยุคแรกนั้น เป็นเนินหลุมฝังธรรมดา เรียกว่า “มาสตาบา” (Mastabas) แปลว่า ม้านั่ง ในภาษาอารบิก ภายในลึกลงไปใต้ดินจะมีห้องหลายห้องสำหรับไว้เก็บศพหรือมัมมี่และสิ่งของผู้ตาย ถัดมาจึงทำเป็นปิรามิดขนาดใหญ่มีทั้งรูปแบบที่เป็นปิรามิดแบบขั้นบันได ต่อจากนั้นมีการสร้างปิรามิดที่มีด้านแต่ละด้านเรียบลาดเทลงมายังฐานสี่เหลี่ยม เรียกว่า “ปิรามิดหลวง” (Royal Pyramids) เช่น ปิรามิด 3 องค์แห่งเมืองกีซา และระยะหลังนอกจากการสร้างปิรามิดแล้วยังมีการสร้างวิหารสำหรับบูชาเทพเจ้า เช่นในยุคราชวงศ์กลางมีการเน้นเรื่องเทพเจ้ามากขึ้น จึงมีการสร้างวิหารถวายเทพเจ้า ส่วนมัมมี่ของฟาโรห์ก็มีการเก็บไว้ในภูเขาหิน หรือที่เรียกว่า “หุบเขากษัตริย์” ต่อมาในยุคราชวงศ์ใหม่มีการสร้างวิหารขึ้นอีก 2 แห่ง คือ วิหารสำหรับทำพิธีพระศพของฟาโรห์วิหารถวายเทพเจ้า เช่นวิหารของพระนางฮัทเซพสุต (Queen Hatshepsut) และวิหารคาร์นัค (Karnak)
  
มาสตาบา              ปิรามิดแบบขั้นบันได

ปิรามิดแห่งกีซา

วิหาร

ฟาโรห์ฮัทเซพสุต

วิหารแห่งคาร์นัค
การสร้างปีรามิดของชาวอียิปต์สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายและความเป็นอมตะของวิญญาณ ถ้าตายแล้วจะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปและยังมีความเกี่ยวข้องกับร่างเดิมอยู่ จึงมีแนวความคิดในการรักษาร่างเดิมไว้ โดยการทำมัมมี่ นอกจากความเชื่อในเทพเจ้าและการหมกมุ่นอยู่กับโลกหลังความตายแล้ว ยังปรากฏว่า มีพัฒนาการความคิดทางด้านปรัชญาแฝงอยู่ในความเชื่อของชาวอียิปต์ เช่นในหนังสือของผู้ตาย (The Book of Dead) ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนาและพิธีกรรมที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอียิปต์มากที่สุด มีบทกวีที่ผู้ตายจะต้องกล่าวต่อเทพโอซิริส (Osiris) ว่า

“ข้าฯ ไม่ได้ทำให้ใครเจ็บปวด
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนหิวโหย
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้ใครหลั่งน้ำตา
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนตาย
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนต้องทุกข์ทรมาน” (ธีรยุทธ บุญมี. 2546: 31)

บทกวีนี้สะท้อนให้เห็นหลักศีลธรรมจริยธรรมของชาวอียิปต์รวมถึงหลักเมตตาธรรมและอารมณ์ความรู้สึกด้านอื่นๆ ของมนุษย์และการรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองอีกด้วย

บทกวีที่สำคัญมากของพัฒนาการทางความคิดของอียิปต์อีกบทหนึ่ง ปรากฏอยู่ในจารึกของเทพธิดา Neith ซึ่งกล่าวว่า “ข้าคือสิ่งที่เป็นอยู่และเคยเป็น และจะเป็นไป ไม่มีใครได้เปิดม่านคลุมหน้าเพื่อยลโฉมข้าได้” (I am that which is, that which was and that will be. No one has lifted my veil.) (แหล่งเดิม. หน้า 32) จารึก Neith สะท้อนให้เห็นความสนใจปรัชญาที่ละเอียด และเป็นความจริงสูงสุดซึ่งไม่สามารถใช้คำพูดหรือคำบรรยายใดอธิบายได้ นั่นอาจหมายความว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ข้ามพ้นขอบเขตของภาษาไป

อารยธรรมจีน 
อารยธรรมจีนยุคโบราณเริ่มก่อตัวที่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นชุมชนเกษตรกรรม บริเวณนี้พบหมู่บ้านเกษตรกรรมแห่งแรกเรียกว่า Ban Po ใกล้เมืองซีอาน เพราะความอุดมสมบูรณ์จากพื้นดินร่วนซุย ที่สะสมจากการพัดพาของลมและกระแสน้ำจนเป็นที่ราบลุ่มแม้น้ำเหลือง มีการทำปสุสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา เลี้ยงตัวหม่อนเพื่อนำมาทำผ้าไหม ความเจริญของจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏอย่างเด่นชัดในยุคหินใหม่ตามมณฑลต่างๆ ของจีนตั้งแต่ทางตอนเหนือจนถึงทางใต้จากแหล่งวัฒนาธรรม 2 แห่งคือ วัฒนธรรมหยางเฉา (Yang-Shao) และลุงซาน (Lung-Shan) วัฒนธรรมหยางเฉาโดดเด่นในเรื่องการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีการเขียนลายลายบนผิวภาชนะ คือ สีแดง ขาว ส่วนวัฒนธรรมลุงซานทำเครื่องปั้นดินเผาสีดำเรียบไม่มีการระบายสี ทั้งสองวัฒนธรรมนี้ถือว่าเป็นรากฐานของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหในเวลาต่อมา

อารยธรรมจีนหลังอารยธรรมยุคโบราณ และช่วงก่อนเส้นทางสายไหม อาจเริ่มต้นจากสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก โจรตะวันออก และราชวงศ์จิ๋น ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตกาล ช่วงสมัยราชวงศ์โจว กษัตริย์ได้ยกย่องฐานะของตนเองขึ้นเป็น “โอรสสวรรค์” โดยมีความเชื่อว่า “เทียน” เป็นเทพเจ้าสูงสุด ราชวงศ์โจวช่วงต้น ซึ่งเรียกว่า “โจวตะวันตก” ครองอำนาจการปกครองจนถึงปี 770 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นมีกลุ่มอำนาจใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า “โจวตะวันออก” เข้าปกครองต่อมาจนถึงประมาณ 403 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงปลายราชวงศ์โจว เกิดความวุ่นวายยุ่งเหยิงทางการเมืองเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ระหว่างรัฐต่างๆ จึงเรียกยุคนี้ว่า “ยุคสงครามระหว่างรัฐ” ประมาณ 403-221 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณใกล้เมืองซีอานในปัจจุบัน กระทั่ง 256 ปีก่อนคริสตกาลชิวั่งตี่แห่งแคว้นจิ๋นได้ปราบปรามรัฐต่างๆ แล้วรวบรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยใช้การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และสถาปนาตนเองเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้ ต่อมาได้สร้างกำแพงเมืองจีนขึ้นและจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
แม้ว่าช่วงปลายของราชวงศ์โจวเป็นยุคที่จีนมีความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างรัฐ แต่เป็นยุคที่มีการพัฒนาทางความคิดด้านศาสนาและปรัชญาอย่างโดดเด่น จนได้รับการขนานนามว่า “ยุคทองของนักปรัชญาจีน” หรือยุคปรัชญาร้อยสำนัก เช่น เหล่าจื้อ ผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักเต๋า ขงจื้อ ศาสดาของศาสนาหรือลัทธิขงจื้อ เม่งจื้อ และม่อจื้อ เป็นต้น แต่นักปรัชญาที่โดดเด่นและมีอิทธิพลต่อชาวจีนมาที่สุดคือ เหล่าจื้อและขงจื้อ

พัฒนาการของความคิดจีนก่อนยุคนักปราชญ์นั้น มีลักษณะเป้นควาเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism) ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ มาก เช่น การนับถือเทพเจ้าน้ำ เทพเจ้าแห่งลม แต่เทพเจ้าสูงสุดที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือคือ “เทียน” หมายถึง ฟ้า หรือสวรรค์ จนเข้าสู่ยุคนักปราชญ์ ความคิดจึงได้เริ่มพัฒนาอย่าเป็นระบบ

อารยธรรมกรีก 
กรีกเป็นคำที่ชาวโรมันเรียกชาวกรีก หรือกรีซในปัจจุบัน แต่ชาวกรีกเองเรียกตนเองว่า “เฮลลีนส์” และเรียกความเจริญอารยธรรมที่ตนสร้างสรรค์ว่า “เฮเลนนิค” (Hellenic) ประเทศต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันออกคือ อินเดียและจีนส่วนต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกก็คือกรีกชาวตะวันตกทุกชาติไม่ว่าสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรีย อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี ฯลฯ ใช้อารยธรรมที่ล้วนแล้วแต่มีรากดั้งเดิมมาจากกรีกทั้งนั้น

กรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณรอบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ติดต่อกับอารยธรรมยุคเก่าซึ่งมีอำนาจในการปกครองดินแดนแถบนี้ 2 แห่งของโลก คือ อียิปต์และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ดินแดนรอบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งเชื่อม 3 ทวีป คือ อาฟริกา เอเซียและยุโรป และเป็นชุมทางการเคลื่อนตัวของมนุษย์สมัยโบราณในยุคหินเก่าและหินใหม่ เนื่องจากกรีกเป็นเมืองค้าขายจึงมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความคิดอันหลากหลายจากพ่อค้าจากต่างถิ่นที่แวะเข้ามาทำการค้าขาย

เมืองส่วนใหญ่ของกรีกเป็นเมืองค้าขายมีที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่จะผลิตอาหารได้จำนวนจำกัด กรีกจึงมีแนวโน้มจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่ไม่รวมศูนย์ การเป็นเมืองค้าขายเปิดโอกาสให้ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากพ่อค้าที่แวะเข้ามาจากการเดินทางออกไปยังอียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เป็นต้น ทำให้กรีกสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มาก จากการที่กรีกปกครองเป็นนครรัฐ (Polis) จึงทำให้กรีกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ ก่อนหน้านั้นหรือในยุคเดียวกัน คือ ไม่มีระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าที่มีอำนาจสูงสุดหรือสมบูรณ์ตายตัว จากจุดนี้จึงเป็นสาเหตุให้กรีกกลายเป็นนักวิเคราะห์ และนักเหตุผลนิยมได้ดีกว่าอารยธรรมอื่นที่ผ่านๆ มา และในที่สุดกรีกก็เป็นหนึ่งในอารยธรรมแรกๆ ที่สร้างระบบคิดแบบเปิด คือ ระบบปรัชญาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเน้นการถกเถียงระหว่างปัญญาชนที่หลายหลายขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในกรีก อินเดีย และจีน

ชาวกรีกให้การเทพเจ้าหลายองค์ เทพส่วนมากมีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ เช่น Zeus ควบคุมท้องฟ้า พายุและฝน เทพ Poseidon ควบคุมทะเล เทพ Aphrodite เป็นเทพแห่งความรัก และเทพ เป็นต้น แต่การนับถือเทพของชาวกรีกมีความแตกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ คือ แต่ละบุคคลสามารถบนบานต่อเทพได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพระนักบวช และเทพในอารยธรรมกรีกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตลอดเวลา

เทพ Zeus
ส่วนในกรีกโบราณ ความคิดทางศาสนามีส่วนช่วยจรรโลงอารยธรรมกรีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการสร้างโบสถ์วิหารและปติมากรรมเพื่อถวายความเคารพและบูชา สรรเสริญเทพเจ้า วิหารของเทพเจ้ากรีกล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน และมีแบบของหัวเสา วิหารที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารพาเธนอน (Pathenon) ในนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นวิหารของเทพเจ้าอธีนาผู้คุ้มครองนครเอเธนส์ วิหารเทพเจ้าเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างแสดงแสดงฝีมือและความเป็นอัจฉริยะของกรีกโบราณด้านสถาปัตยกรรม

ความคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกโบราณสื่อออกมาในรูปลักษณะแบบมนุษย์และคุณลักษณะบางประการของมนุษย์ เช่น ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีการทะเลาะวิวาท อิจริษยา กันและกัน แต่มีความแตกต่างจากมนุษย์ตรงที่มีอาหารทิพย์ และมีความเป็นอมตะ แต่ละองค์ล้วนมีอานุภาพ และได้รับการกำหนดให้คุ้มครองธรรมชาติที่มีความสำคัญ เช่น ท้องทะเล ได้แก่ เทพเจ้าโพไวดอน (Poseidon) พื้นแผ่นดินได้แก่ เทพเจ้าซีรีส (Ceres) ความงาม ความรัก ได้แก่ เทพเจ้าอโพรไดท์ (Aphrodite) หรือที่ชาวโรมัน เรียกว่า วีนัส (Venus) ความฉลาด ได้แก่ เทพเจ้าอธีนา (Athena) แสงสว่างและการทำนาย ได้แก่ เทพเจ้าอพอลโล (Apollo) เป็นต้น

ส่วนเรื่องของความตายนั้น กรีกโบราณมีความคิดที่แตกต่างไปจากอียิปต์ คือ ชาวกรีกจะไม่สนใจความเป็นไปภายหลังความตาย ไม่สนใจต่อร่างกายที่ และเมื่อคนตายลงก็จะใช้วิธีเผาศพ และมีความคิดว่า เงาหรือผีจะอยู่ชั่วระยะหนึ่งหลังจากที่ตายไปทุกคนจะไปยังอาณาจักรแห่งความตาย ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของเทพเจ้าใต้บาดาล คือ เฮเดส (Hades) แต่อาณาจักรแห่งความตายนี้มิใช่นรก หรือสวรรค์ ไม่มีการรับรางวัลแห่งความดี หรือการถูกลงโทษจากการกระทำผิด แต่จะอยู่ในลักษณะเดียวกันเหมือนกับการมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์

กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวกรีกก็คือ การรื่นเริงถวายเทพเจ้าที่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับศาสนปฏิบัติ ซึ่งแสดงออกโดยที่นครรัฐทุกแห่งจะมีงานรื่นเริงประจำนครรัฐของตนและมีการแข่งกีฬา การแข่งขันกีฬาถวายเทพเจ้าที่สำคัญที่สุด คือ ที่โอลิมเบีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในแคว้นเอลิส (Elis) ได้เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล ณที่นี้มีวิหารของเทพเจ้าสูงสุด คือเทพเจ้าซีอุส (Zeus) และการแข่งขันกีฬาที่โอลิมเปียนี้เรียกว่า กีฬาโอลิมปิก (Olympic Game)

กิจกรรมต่างๆ ของชาวกรีกโบราณที่กล่าวมาแล้วนี้ นับเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสอดคล้องผสมผสานระหว่างความคิดทางศาสนากับอารยธรรมของมนุษย์ได้อย่างชัดเจนและมีความหมายที่ซ้อนเร้นอยู่ตามสถาปัตยกรรมต่างๆ

ส่วนในสมัยโรมัน ปรากกว่าระยะแรกๆ ชาวโรมันมีชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเพาะปลูก พวกเขานับถือผีวิญญาณ เชื่อว่ามีวิญญาณในทุกสิ่ง ไม่ว่าต้นไม้ ก้อนหิน สัตว์ในทุงหญ้า ท้องนา วิญญาณเหล่านี้อาจช่วยเหลือ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อวิญญาณเหล่านี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางศาสนาที่จะหาวิธีปฏิบัติให้วิญญาณทั้งหลายนั้นมาเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์

ความคิดเรื่องวิญญาณที่สำคัญของชาวโรมันในระยะแรกได้แก่ เวสตา (Vesta) ซึ่งดูแลเตาไฟ แลรีส (Lares) ดูแลบ้านและขอบเขตที่นาของครอบครัว พิเนตีส (Penates) ดูแลที่เก็บเสบียงอาหาร และยังมีวิญญาณประจำตัวมนุษย์ได้แก่ จีเนียส (Genius) ซึ่งบำบัดรักษาครอบครัวโดยผ่านหัวหน้าครอบครัว จึงถือว่า จีเนียสเป็นวิญญาณประจำตัวผู้ชาย วิญญาณเหล่านี้จะต้องได้รับการกราบไหว้อย่างเหมาะสม

ในยุคโบราณ ตะวันตกถือว่ากรีกเป็นบ่อเกิดของความคิดแบบต่างๆ และถือว่าเป็นอาณาจักรที่มีอารยธรรมทั้งทางด้านความคิด การเมือง สถาปัตยกรรม เป็นต้นมีความก้าวหน้าแห่งหนึ่งในยุคโบราณ แต่ในยุคนี้ความคิดที่เด็นชัดและมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดและการดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในตะวันตก ก็คือความคิดทางปรัชญา ซึ่งมีนักคิดที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น 3 ท่าน ก็คือ อริสโตเติล พลาโต้ และโสเครตีส แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วนักคิดที่ถือว่ามีแนวคิดทางปรัชญาท่านแรกของกรีกโบราณก็คือ ธาเลส ซึ่งเป็นผู้ให้มุมมองเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์ที่แตกต่างออกไปจากมุมมองแบบยุคก่อนประวัติศาสตร์ และถือว่าเป็นผู้จุดประกายให้มีนักคิดท่านอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย

อารยธรรมโรมัน

1  สภาพภูมิศาสตร์            จุดเริ่มต้นของอารยธรรมโรมัน  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม  ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์  และอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15 ไมล์  ที่ตั้งของกรุงโรมมีเนินเขา 7 ลูก เป็นแนวป้องกันไม่ให้ศัตรูรุกรานได้ง่าย  คาบสมุทรอิตาลีมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ 4 แบบคือ            1.  ทางตอนเหนือมีที่ราบอยู่ระหว่างภูเขาแอลป์กับภูเขาแอปเพนไนส์  คือ  ที่ราบลอมบาร์ดี              2.  ตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลีมีแนวภูเขาแอปเพนไนส์  ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้  มีความยาวประมาร  800  ไมล์            3.  ที่ราบด้านตะวันออกของภูเขาแอปเพนไนส์ขนานยาวไปกับชายฝั่งทะเล            4.  ที่ราบด้านตะวันตกของภูเขาแอปเพนไนส์ขนานยาวไปกับชายฝั่งทะเล  บริเวณตอนกลางมีที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำไทเบอร์   เรียกว่าที่ราบลุ่มละติอุม  ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโรม            จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวคาบสมุทรอิตาลีสามารถทำการติดต่อคมนาคมและมีความอุดมสมบูรณ์กว่าคาบสมุทรกรีก  ภูเขามิได้เป็นอุปสรรคกีดขวาง  แต่เป็นเสมือนกระดูกสันหลัง            ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียนเหมือนกับคาบสมุทรกรีก  ดังนั้น  บริเวณนี้จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกองุ่นและมะละกอ  ซึ่งชาวกรีกได้นำเข้ามาเผยแพร่2  ชนเผ่า            ชนเผ่าที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่อพยพเข้ามามี 3 ช่วง  คือ  ในช่วงระยะประมาณ 2,000-800  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ชาวอินโดยูโรเปียนได้อพยพมาจากลุ่มแม่น้ำดานูบเข้าสู่คาบสมุทรอิตาลีและตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนเหนือและตอนกลาง  โดยผสมผสานกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว  ทำให้ชนกลุ่มใหม่ที่เรียกว่าพวกอิตาลิค  โดยส่วนใหญ่พวกนี้จะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มละติอุม  ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  พวกลาติน            ต่อมาในช่วงระยะเวลา  900 ปีก่อนคริสต์ศักราช  พวกอีทรัสกันได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในคาบสมุทรอิตาลีทางด้านตะวันตก  ตั้งแต่แม่น้ำโปไปจนถึงเนเปิลส์  พวกอิตาลิคหรือลาตินถูกพวกอีทรัสกันปกครอง  ซึ่งพวกนี้ได้น้ำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชาวลาติน  ทั้งเรื่องการค้า  ความรู้  และทักษะการหลอมโลหะ  การนับถือเทพเจ้า            ส่วนพวกกรีกได้เข้ามาตั้งอาณานิคมในดินแดนทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี  เมื่อประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช  มีอาณานิคมที่สำคัญคือ  แมกนา  กราเซีย  และเมืองเนเปิลส์  ชาวกรีกนำความเจริญมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้  ทั้งทางด้านศิลปวิทยาการ  ตัวอักษร  ยุทธวิธีการรบ  ตลอดจนนำพืชผลทางการเกษตรมาปลูกคือ  องุ่นและมะละกอ3  ภาษา            มีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลี  คือ  ในกลุ่มพวกลาตินใช้ภาษาซึ่งมีรากฐานภาษาอินโดยูโรเปียน  ต่อมาเรียกว่าภาษาโปรโตลาติน  หรือภาษาลาตินก่อนยุคคลาสิค  ส่วนพวกอีทรัสกันมีตัวอักษรที่คล้ายคลึงกับภาษากรีก  และพวกกรีกใช้ภาษาของตนเองในการติดต่อสื่อสาร  ต่อมาเมื่อพวกลาตินสามารถครอบครองคาบสมุทรอิตาลีและสร้างจักรวรรดิโรมัน  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือภาษาลาติน  ซึ่งกลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปในดินแดนต่างๆและเป็นรากฐานของภาษาต่างๆในโลกชาติตะวันตก4  พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน            ชาวลาตินถูพวกชาวอีทรัสกันปกครองในช่วง  900-510  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ซึ่งพวกอีทรัสกันนำระบบกษัตริย์มาใช้ในการปกครองดินแดนตอนเหนือ  และตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลี  ชาวลาตินอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง  แต่ได้เรียนรู้และรับความเจริญจากพวกอีทรัสกันในหลายๆด้าน  เช่น  การแต่งการด้วยเสื้อโทก้า  การใช้อาวุธมัดหวายมีขวานปักอยู่ตรงกลาง            ต่อมาประมาณปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช  ชาวลาตินรวมตัวกันโค้นล้มอำนาจของกษัตริย์อีทรัสกัน  และได้จัดการปกครองแบบสาธารณรัฐ  จากนั้นพวกลาตินได้แผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ  จนกระทั่งสามารถครอบครองดินแดนได้ตลอดคาบสมุทรอิตาลีในปี 265 ก่อนคริสต์ศักราช            สาเหตุที่ทำให้ชาวโรมันสามารถขยายอำนาจได้อย่างกว้างขวางมี 4 ประการ คือ            ประสิทธิภาพของกองทัพ  ในระยะแรกโรมันได้มีการจัดรูปแบบกองทหารแบบฟาแลงก์  โดยแบ่งทหารกองละ 100 คน  กองหน้าจะมีอาวุธและเสื้อเกาะที่มีประสิทธิภาพ  ส่วนกองหลังถืออาวุธเบา  การจู่โจมศัตรูกองทหารเดินหน้าเข้าหาศัตรูพร้อมกัน  ต่อมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของกองทัพให้ดียิ่งขึ้น  โดยจัดกองทหารแบบลีเจน  โดยแบ่งกองทหารประมาณ 60-120 คน  ทหารทุกคนมีเกราะ  โล่  หอก  และดาบ  แต่มีอาวุธใหม่  คือ หอกปลายเหล็ก  กองทหารแต่ละกองแยกย้ายกันจู่โจมศัตรู  นอกจากการจัดการระบบกองทัพแล้ว  ในกองทัพยังวางกฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัดอีด้วย  ประการสำคัญผู้ที่จะเป็นทหารโรมันได้ต้องเป็นพลเมืองโรมันที่มีอายุระหว่าง 17-46 ปี  ทำให้ทหารโรมันมีความพร้อมที่จะทำสงครามเพื่อชาวโรมัน            การสร้างถนน  ภายหลังจากที่โรมันได้ชัยชนะเหนือดินแดนใดแล้ว  ได้ดำเนินการสร้างถนนจากดินแดนนั้นๆมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงโรม  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเส้นทางควบคุมดินแดนต่างๆมิให้แยกตัวจากโรมัน  ถนนที่สร้างนี้มีความแข็งแกร่งทนทานเพราะใช้ส่งกำลังพลและเสบียงอาหาร  ในยามสงบใช้เป็นเส้นทางการค้า  การมีถนนทำให้กรุงโรมติดต่อสื่อสารระหว่างดินแดนต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  จึงง่ายต่อการควบคุมปกป้องดินแดนเหล่านี้            ป้อมปราการ  ในบริเวณชายแดนเมืองหน้าด่านมีการสร้างป้อมไว้คอยป้องกันศัตรูจากภายนอก  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ปกป้องดูแลเมืองต่างๆ  ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย            คุณสมบัติของชาวโรมัน  ชาวโรมันมีคุณสมบัติหลายประการที่ส่งเสริมความยิ่งใหญ่ คือ การอุทิศตนต่อหน้าที่ มีความอดทน มีระเบียบวินัยเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา มีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ เป็นนักมองความจริง เรียนรู้บทเรียนจากอดีต มีขันติธรรมต่อต่างชาติ            ภายหลังจากที่ชาวโรมันมีอำนาจเหนือคาบสมุทรอิตาลีแล้ว ได้แผ่ขยายอำนาจออกนอกคาบสมุทรอิตาลี  โดยทำสงครามคาร์เทจ (ระหว่างปี264-146 ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่า สงครามปิวนิค ซึ่งมี 3 ครั้ง ด้วยกัน  สงครามสิ้นสุดลงด้วยการผ่ายแพ้ของคาร์เทจ ส่งผลให้โรมันได้ครอบครองดินแดนต่างๆที่อยู่ในความครอบครองของคาร์เทจมาก่อน เช่น เกาะคอร์ซิกา และ ซาร์ดิเนีย ดินแดนในสเปน ดินแดนทางตอนเหนือของทวีปอัฟฟริกา จากนั้นชาวโรมันได้ขยายอำนาจไปทางด้านตะวันออก โดยได้ครอบครองดินแดนซิเรีย มาซิโดเนีย รัฐต่างๆในเอเชียไมเนอร์            ต่อมาโรมันได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปทางตอนเหนือภายใต้การนำกองทัพของ จูเลียต ซีซาร์  ในช่วงระหว่างปี 58- 50 ก่อนคริสต์ศักราช  ทำให้โรมันสามารถครอบครองแคว้นโกล มีอาณาบริเวณจดแม่น้ำไรน์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และ ช่องแคบอังกฤษทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  และสามารถเข้าไปปกครองดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษอยู่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ            สำหรับดินแดนอียิปต์  โรมันสามารถรวมไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรโรมันใน 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภายหลังจากออคตาเวียได้รับชัยชนะในยุทธการทางเรือที่แอคตีอุมใน 31 ปีก่อนคริสต์ศักราช  และ เมื่อออคเตเวียขึ้นมามีอำนาจปกครองโรมันได้จัดรูปแบบการปกครองใหม่เป็นจักรวรรดิ(27ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยตนเองดำรงตำแหน่งจักรพรรดิองค์แรกมีพระนามว่า ออกุสตุส ซีซาร์  ส่วนรูปแบบการปกครองสาธารณรัฐก็ยังรักษารูปแบบไว้  แต่ในทางปฏิบัติอำนาจสูงสุดอยู่ที่ออกุสตุส ซีซาร์ครองอำนาจอยู่นั้นเป็นชิวงระยะเวลาที่มีความสงบสุข ปราศจากการทำสงครามครั้งใหญ่ๆ จึงเป็นสมัยแรกของสันติภาพโรมัน ซึ่งจะคงอยู่ต่อไปอีก200ปี            กล่าวโดยสรุปได้ว่า การขยายอาราเขตของโรมันเมื่อสิ้นสุดสมัยออกุสตุสใน .. 14  โรมันครอบครองดินแดนเรเซีย นอริคุม แพนโนเมีย อียิปต์ มอริตาเนีย และเมื่อสิ้นสมัยมาร์คุสออเรอุสใน ..180  ได้ครอบครองดินแดนดาเซีย เทรซ คัมปาโดเซีย และ อาระเบีย            ด้วยอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลนับจากการขยายตัวใน264 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ..180 โรมันค่อยๆขยายตัวจากอาณาจักรมาเป็นจักรวรรดิที่มีความยิ่งใหญ่ ไม่มีจักรวรรดิอื่นใดมาเทียบเคียง  และมีอำนาจมากที่สุดในโลก สามารถครอบครองดินแดนต่างๆรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนได้รับสมญานามว่าเป็น “ เจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ” และโพลีบิอุสยอมรับว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลก            หลังจากสิ้นสมัยจักรพรรดิมาร์คุส ออเรลีอุส  ใน ..180 จักรวรรดิโรมันค่อยๆเสื่อมทีละเล็กทีละน้อยทั้งจากการรุกรานของพวกอนารยชน  ความเสื่อมทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาความแตกแยกภายในทางการเมือง  การสืบทอดตำแหน่งรัชทายาท ระบบทางการปกครอง แต่ว่าในบางช่วงจักรพรรดิบางองค์สามารถรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางได้ เช่น สมัยจักรพรรดิดิโอคลีเซียน แต่ก็ดูเหมือนว่าจักรวรรดิแบ่งเป็น2ภาค คือ ภาคตะวันตก และ ภาคตะวันออก และพระองค์ได้แต่งตั้งตำแหน่งออกุสตุส (จักรพรรดิผู้ช่วยให้ดูแลภาคตะวันตกส่วนภาคตะวันออกพระองค์ดูแลเอง ครั้นสิ้นสมัยของพระองค์เกิดการแย่งอำนาจ จนกระทั่งมาถึงสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงปกครองใน ..313 พระองค์สามารถรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางได้อีกครั้ง พระองค์ทรงปรับปรุงเมืองไบแซมติอุม และ เปลี่ยนชื่อเป็นคอนสแตนติโนเปิล แล้วยกฐานะให้เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเมื่อสิ้นสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน

อารยธรรมอินเดีย
อินเดียสมัยโบราณ
                อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ  เริ่มประมาณ  2,500  B.C.  -  1,500 B.C. โดยชาวดราวิเดียน  ต่อมา 1,500  B.C.  –  คริสต์ศักราชที่ 6 เป็นอารยธรรมที่ชาวอารยันสร้างขึ้น จนกลายเป็นแบบแผนของอินเดียต่อมา 

                อนุทวีปอินเดียมีเทือกเขาฮินดูกูชอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเทือกเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือ ทางตะวันตกและออก ตอนใต้ ติดทะเล  ทำให้อินเดียโบราณติดต่อกับภายนอกได้ยาก ทางที่จะเข้าสู่อินเดียได้คือทางช่องเขาตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางที่พ่อค้า  และผู้รุกรานจากเอเชียกลางเข้าสู่อนุทวีป
                อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ )   มีการค้นพบหลักฐานเมื่อค.ศ. 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ        ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่   ค.ศ.1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัปปา(Harappa)  และเมืองโมเฮนโจ  ดาโร(Mohenjo  Daro)  อายุประมาณ 2500 ปีก่อนค.ศ.             หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะมีสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา   มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ  บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ มีระบบระบายน้ำสองท่อดินเผาอยู่ข้างถนน  เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน  มีอักษรภาพใช้     พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครามีแถบผ้าคาดมีตราประทับตรงหน้าผาก  รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลักบนหินเนื้ออ่อน  เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด      มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด    พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล  เช่นเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย  ธิเบต  โดยพบโบราณวัตถุหอยสังข์จากอินเดีย หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน หยกจากธิเบต      และมีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน

                   ต่อมาชาวอินโด-อารยัน ผิวขาว ร่างสูง จมูกโด่งพูดภาษาตระกูลอินโด- ยูโรเปียน(ภาษาสันสกฤต) อพยพมาจากแถบทะเลสาบแคสเปียน บุกรุกเข้ามาทางเทือกเขาฮินดูกูช มายังลุ่มน้ำสินธุขยายความเจริญมาทางลุ่มแม่น้ำคงคา  ชาวดราวิเดียแพ้สงครามต้องเคลื่อนย้ายลงไปทางใต้  สู่ภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย   ต่อมาถูกชาวมุสลิมเตอร์กรุกรานทำให้ศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในอินเดีย
                อินเดียสมัยโบราณแบ่งเป็น 5 สมัย
1.             สมัยอินโด-  อารยันรุกราน  (2,500- 2,000  B.C.) เป็นสมัยที่มีการรุกรานระยะแรกและเกิดการสู้รบระหว่างชาวดราวิดียนและอารยันมีการขยายตัวไปทางตะวันออก
2.             สมัยพระเวท (2,000 -1,000 B.C.)สมัยที่อารยันได้รับชัยชนะ มีการตั้งถิ่นฐานและสถาปนาเป็นอาณาจักรเล็กๆ มีราชาเป็นผู้นำทางการปกครอง พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนถอยลงไปอยู่ทางตอนใต้  อารยันรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีของดราวิเดียนมาใช้ ต่อมาพวกอารยันได้กำเนิดระบบวรรณะขึ้น         เพื่อแบ่งแยกและรักษาความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ    มีคัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ทางศาสนาและวิถีชีวิต วัฒนธรรมของอารยัน
3.             สมัยมหากาพย์(1,000 500 B.C.) เกิดอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มน้ำคงคามีลักษณะเป็นนครรัฐอิสระ ราชา เป็นผู้ปกครอง แบบราชาธิปไตย (monarchy) มีฐานะเป็นสมมุติเทพ  เช่น อาณาจักรมคธ  วัชชั  อวันตี วิเทหะ ฯลฯ มีการแบ่งวรรณะชัดเจน 4 วรรณะ พราหมณ์  กษัตริย์(นักรบ)  แพศย์  ศูทร(ทาส)  มีการติดต่อค้าขายทางเรือ กับอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อาราเบีย    สมัยนี้จะมีวรรณกรรมที่สำคัญ คือ มหากาพย์มหาภารตยุทธ เป็นสงครามกลางเมืองที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างตระกูล ปาณฑพและเการพต้นตระกูลเป็นเชื้อสาย อินโด-อารยัน  มีการสอดแทรกบทบาทหน้าที่ของคนที่อยู่ในสังคม ดังปรากฎใน ภควัทตีคา สอนในคนทำหน้าที่ของตนในสังคมให้ครบถ้วย    และมหากาพย์รามายณะ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะ การขยายอาณาเขตของอารยันไปทางตอนใต้ทำสงคราม ปราบชาวดราวิเดียน
4.             สมัยจักรวรรดิ ( 321 B.C. – 220 A.D.)             ช่วง 6 B.C. มีอาณาจักรทางเหนือที่เข้มแข็ง 2   อาณาจักรคือ มคธ นำโดย (พระเจ้าพิมพิสาร) และแค้วนโกศล ที่ขยายอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย  ต่อมาถูกเปอร์เชียรุกราน ต้นศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย  (กรีก) ยกทัพมารุกรานครองตอนเหนือของอินเดีย   ทำให้อินเดียได้รับอิทธิพลการเขียนอักษรแบบอารบิคจากเปอร์เชีย (ต่อมาพัฒนาเป็นอักษร ขโรษติ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชใช้เขียนจารึก) การทำเหรียญเงิน
        ช่วง  4  B.C. เกิดจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่คือ โมริยะ หรือเมารยะ ยึดแค้วนมคธ แล้วขยายอาณาจักรไปทางตะวันตกฉียงเหนือ ตะวันตก ภาคเหนือ ใต้  มีการติดต่อค้าขายกับเอเชียไมเนอร์ กรีก เมโสโปเตเมีย   มีกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าจันทรคุปต์  กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือพระเจ้าอโศกมหาราช( 273-236 B.C.) มีอำนาจหลักการปกครองที่สำคัญใช้จากคัมภีร์อรรถศาสตร์  (เกาฏิลยะ) แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุด ในการบริหารราชการ ตรากฏหมาย การศาล การทหาร      สมัยนี้มีการสร้างถนนเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงเหนือ  กับกรุงปาฏลีบุตร ทำสำมะโนประชากร   ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือศาสนาพุทธ  ทรงให้มีการจารึกบนเสาหินที่ตั้งอยู่ตามดินแดนต่างๆเป็นหลักของศีลธรรมที่สอดคล้องกับทุกศาสนา (เรียก หัวเสาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)

 ราชวงศ์โมริยะได้สิ้นสุดลงราว 186 ปีก่อน  ต่อมา ค.ศ. ที่ 1 พวกกุษาณะผู้เร่ร่อนปกครองตอนเหนืออินเดียมีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะปกครองดินแดนที่เรียกว่าแคว้นคันธาระ   ทรงนับถือพุทธให้กำเนิดนิกายมหายาน  โปรดให้จารึกคำสอนของพระพุทธองค์ลงบน แผ่นทองแดง     
                                                                                                                                      
  5.  สมัยคุปตะ (320-550 A.D.)   ถือว่าเป็นยุคทองของฮินดูทางตอนเหนือ   ต้นคริสต์ ศตวรรษทที่ 4 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ตั้งราชวงศ์คุปตะที่เมืองปัตลีบุตร โอรสของพระองค์ ชื่อ พระเจ้าสมุทรคุปต์ ทรงขยายดินแดนออกไปกว้างไกล ทรงทำเหรียญทองสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ แล้วนำไปไว้ที่เสาหินของพระเจ้าอโศก ราชวงศ์คุปตะรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 (ค.ศ.376-415) เพราะนอกจากจะชนะพวกสากะแล้ว ทรงรวมดินแดนตะวันออกและทางเหนือไว้ในอำนาจ  ทรงสนับสนุนศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี  กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ กลิทัษ                                         การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น การค้าเจริญขึ้นมาก มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และประเทศไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เช่น สถูปที่สัญจี อมาราวาตี ฯลฯ วัดพุทธกลายเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย ภาษาสันสกฤตกลายเป็นภาษาของผู้รู้หนังสือและเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ มีหนังสือกามสูตรเกิดขึ้น เป็นหนังสือที่ชี้ถึงความสำคัญของชีวิตคู่และเพศสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น